ไฟฉายใต้น้ำถือเป็นอุปกรณ์สำคัญมากสำหรับการดำน้ำทุกประเภท ไม่ว่าจะไว้ใช้ส่องสว่างนำทาง, ส่งสัญญาณระหว่างนักดำน้ำ, หรือการเติมแสงสว่างใต้น้ำสำหรับการถ่ายภาพ ฯลฯ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท และเราจะมาแนะนำให้ทุกคนทราบถึงคุณสมบัติต่างๆ เพื่อการเลือกซื้อใช้อย่างเหมาะสม
Light Intensity
ความเข้มข้นของแสง หรือความสว่างของแสงนั้นจะมีค่าวัดง่ายคือ Lumen ซึ่งยิ่งมาก แสงก็จะยิ่งเข้มข้นสูง ทำให้สว่างมากขึ้น ในปัจจุบันนั้นมีการผลิตไฟฉายดำน้ำแรงสูงมากขึ้น แต่กำลังไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไปคือ 1,000 - 1,500 Lumen และการใช้ไฟสำหรับวีดีโอนั้นจะมีตั้งแต่ 2,000 - 65,000 Lumen ขึ้นไป หรือไฟที่ต้องใช้ในที่ขุ่นมากก็จะต้องใช้ไฟที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเช่นกันเช่นไฟฉายเข้าถ้ำ เหมือง หรือเรือจม ที่มีภาวะ silt out ได้ง่ายก็จะมีความเข้มของแสงตั้งแต่ 1,500 Lumen ขึ้นไป
ไฟยิ่งสว่างมาก ยิ่งให้ความชัดเจนได้มาก ในขณะเดียวกันก็เป็นการรบกวนสัตว์น้ำที่อยู่ในสภาวะแสงน้อยตลอดเวลา ทำให้ปลาว่ายหนีไปได้จากระยะไกลมากได้ จึงควรพิจารณาความเข้มของแสงในการใช้งาน
Lumens vs Lux
Lumen คือความเข้มของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง แต่ Lux คือความเข้มของแสงที่กระทบลงบนพื้นผิว เช่น 1 ลักซ์ คือ 1 ลูเมนต่อ 1 ตารางเมตร ซึ่ง Lux จะแตกต่างกันตามระยะทางของพื้นที่กับแหล่งกำเนิดแสง และมีการคำนวนกลับไป Lumen ที่ยุ่งยากกว่า และค่า Lux ที่สูง มักจะไม่สะท้อนกับกำลังไฟ Lumen ที่แท้จริงได้ สำหรับเรา Lux จึงเป็นหน่วยวัดความสว่างที่วัดได้ยากกว่า Lumen ในการเลือกกำลังไฟฉายจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
Aluminum or Polymer Body
บอดี้ของไฟฉายนั้นถ้าหากเป็นพลาสติก ก็จะมีราคาถูกกว่าอลูมิเนียม แต่อลูมิเนียมจะสามารถทนแรงดันได้ดีกว่าและจะสามารถนำลงไปได้ลึกกว่า โดย depth rating อาจจะไปได้ถึง 100-150 เมตร
Operation Switches
การเปิดปิดไฟฉายนั้นมีหลายระบบ เช่น หมุนกระบอกไฟฉายให้แบตเตอรี่เดินครบวงจร, ปุ่มกดสปริง, สไลด์แม่เหล็ก, หรือปุ่มสัมผัสแบบ Piezo ซึ่งมีข้อควรระวังแตกต่างกันและการดูแลรักษาแตกต่างกันเช่นกัน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า การเปิดปิดแบบหมุนกระบอกไฟฉายนั้น ให้ความทนทานในการใช้งานมากที่สุด แต่ก็เสี่ยงกับการที่นักดำน้ำหมุนกระบอกไฟฉายใต้น้ำแล้วทำให้น้ำเข้า และปุ่มกดสปริงนั้นจะเป็นที่นิยมมากที่สุด
Burn Time
Burn time นั้นตามมาตรฐานที่ได้รับมาจากสเปคของผู้ผลิตไฟฉาย จะขึ้นอยู่กับกำลังไฟของแบตเตอรี่ เช่นถ้าหากว่าระบุว่าไฟฉายมี Burn Time สูงสุดที่ 150 นาที แต่ไฟฉายนั้นแถมแบตเตอรี่เป็น 18650 3.7V 1500mAh ดังนั้นถ้าหากไปใช้แบตเตอรี่ขนาด 2200mAh ก็จะมี Burn Time ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งไฟฉายที่ต้องการ Burn Time ที่ยาวนานมากๆ จะใช้กระบอกถ่านไฟฉายแยกออกมาเรียกว่า Canister Light ซึ่งสามารถให้ Burn Time ได้ตั้งแต่ 5 -24 ชั่วโมงแล้วแต่กำลังไฟ
Spot vs Flood Light
สปอตไลท์ หรือ ฟลัดไลท์ มีหน้าที่แตกต่างกันชัดเจนด้วยลักษณะการกระจายแสง โดยสปอตนั้นจะมีองศาไฟที่ต่ำ (6-15 องศา จากแหล่งกำเนิดแสง) และฟลัดจะมีองศาไฟที่สูงกว่ามาก (>60องศาขึ้นไปจากแหล่งกำเนิดแสง) ซึ่งการใช้งานของสปอตนั้นจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป แสงจะทะลุผ่านน้ำได้ดี ส่วนฟลัดจะนิยมใช้กับการถ่ายภาพหรือวีดีโอ ที่แสงมีความกระจายครอบคลุมมากพอสำหรับการถ่ายภาพหรือวีดีโอ แต่การกระจายแสงที่กว้าง จะทำให้แสงพุ่งไปข้างหน้าได้ไม่ไกล และจะเหมาะกับการใช้งานบางประเภทเท่านั้น
Primary Light
ไฟฉายกระบอกหลัก ที่นักดำน้ำใช้กันในระหว่างดำน้ำจะเรียกว่า Primary Light ทั้งนั้น ไม่ว่าจะขนาดใดๆ เล็ก ใหญ่ ถ้าใช้เป็นหลักใต้น้ำ ก็จะเรียกว่า Primary Light ไว้ก่อน ซึ่งควรมี Burn Time ที่เพียงพอต่อการดำน้ำ 1 ไดฟ์
Backup Light
ไฟฉายทั่วไปทั้งหมด ที่เป็นกระบอกเล็กพอดีมือ ไว้สำรองเมื่อยามจำเป็น เช่น Primary light เสียหายระหว่างการดำน้ำ นักดำน้ำก็จะเปลี่ยนมาใช้ Backup Light ซึ่งตามปกติ Backup Light จะต้องมี burn time ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ Primary Light เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
การดูแลและใช้งาน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟฉายเปิด-ปิดได้ตามปกติ
ตรวจสอบสภาพของ O-ring ก่อนเริ่มทริปดำน้ำ และเปลี่ยนเมื่โอริงเริ่มเสื่อมสภาพ
การใช้ silicone grease จะช่วยให้การถอดรางถ่านง่ายขึ้น
หลีกเลี่ยงการเปิดไฟฉายบนบกเป็นเวลานาน เนื่องจากไฟฉายดำน้ำมีความร้อนสูงและใช้น้ำในการระบายความร้อน
ล้างผิวภายนอกของไฟฉายด้วยน้ำจืดและกดปุ่มเปิดปิดไฟสามสี่ครั้งเพื่อไล่น้ำทะเลออกจากปุ่ม
ไม่เก็บแบตเตอรี่ในไฟฉาย
ชาร์จประจุไฟให้เต็มแบตทุกครั้งหลังใช้งาน
Comments