top of page
ค้นหา

เจาะลึก Regulator Part 6: Regulator Pairing จับคู่แบบไหนจะได้ผลลัพธ์แบบไหนกันนะ?

  • รูปภาพนักเขียน: Sommote Chaicharoenmaitre
    Sommote Chaicharoenmaitre
  • 20 มี.ค.
  • ยาว 2 นาที

Scuba Regulator นั้นปัจจุบันผู้ผลิตมักจับคู่มาให้แล้ว โดยมองว่าเป็นคู่ชุดที่สามารถทำงานเข้าขากันได้เป็นอย่างดีที่สุดแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงนั้น scuba regulator นั้นสามารถจับคู่ผสมกันได้ แต่จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ระบบ โดยถ้าอ่านมาถึงบทความนี้แล้ว บทความก่อนหน้าจะมีรายละเอียดถึงโครงสร้างต่างๆต่อไปนี้ ซึ่งรายละเอียดสามารถหาอ่านได้ที่บทความก่อนหน้านี้ และตรงนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก

First Stage

  • Piston / Diaphragm

  • Unbalanced Regulator

  • Balanced Regulator

  • Overbalanced Regulator

Second Stage

  • Unbalanced

  • Pneumatically Balanced

Valve Design

  • Upstream Valve

  • Downstream Valve

โดยเราได้จับคู่แต่ละรูปแบบไว้ว่าหากจับคู่กันแบบไหน การทำงานจะเป็นอย่างไร โดยมีเงื่อนไขไว้ดังนี้

  • Unbalanced Second + Balanced Second

    ระบบของ Second Stage ที่แตกต่างกันนั้นมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน โดย Balanced second stage นั้นจะทำงานโดยใช้ IP ช่วยเปิด/ปิด poppet seat แต่ Unbalanced second stage นั้นทำงานโดยแค่ใช้แรงสปริงกด poppet seat ไว้เท่านั้น โดยที่นักดำน้ำทั่วไปพอแยกแยะน้ำหนักหายใจได้ แต่จะมีเป็นบางกรณีที่การปรับจูนแรงที่ใช้เพื่อให้ second stage จ่ายอากาศออกมา หรือ "cracking effort" ของ second stage นั้นสามารถทำให้ใกล้เคียงกันได้ ดังนั้นการจับคู่นี้จะอยู่บนสมมติฐานที่ Balanced และ Unbalanced ที่แรงดัน IP เท่ากัน จะจ่ายอากาศได้แตกต่างกันโดยไม่มีนัยยะสำคัญ

  • Overbalanced First Stage นั้นไม่สามารถประกอบเข้ากับ Unbalanced second stage ได้ และขีดความสามารถในการทำงานในพิกัดความลึกไม่เกิน 40 เมตรนั้นใกล้เคียงกันมากกับ Balanced First + Balanced Second จึงให้ overbalanced first stage นั้นอยู่ในพิกัดเดียวกันกับ Balanced first stage

  • Upstream Valve นั้นทำงานด้วยระบบ Balanced เสมอ เพราะไม่ได้ใช้แรงสปริงในการปิดวาล์ว แต่ใช้ความดันก๊าซปิดตัวมันเอง และเปิดเมื่อความดันใน LP Chamber ลดลงเท่านั้น

  • Upstream Valve และ Downstream Valve หากเป็นค่ามาตรฐานจากโรงงาน จะไม่สามารถประกอบให้ใช้ด้วยกันได้ หรือถ้ามีการปรับจูนให้ใช้งานร่วมกันได้ จะมีตัวใดตัวหนึ่งไม่สามารถทำงานได้ตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิต เนื่องจากใช้ IP ไม่เท่ากัน

  • การจับคู่ข้ามยี่ห้อ ข้ามรุ่นสามารถทำได้ แต่ต้องมีการปรับจูนให้ทำงานที่ IP เดียวกัน

Unbalanced first / Unbalanced second

การจับคู่แบบ Unbalanced ทั้งสองแบบจะพบเห็นได้ทั่วไปในชุดจ่ายอากาศระดับเริ่มต้น มักจะพบเห็นได้ง่ายในร้านดำน้ำที่มีอุปกรณ์มากมาย และต้องการลดต้นทุนทั้งในแง่ของค่าตัว และในเรื่องค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงเมื่อใช้ในที่ลึก เพราะว่า Ambient Pressure ที่มากขึ้นจะทำให้การคุม IP นั้นลดลง ทำให้ IP ที่มาถึง Second stage ลดลงด้วย ทำให้การหายใจนั้นแย่ลงได้ ยิ่งอยู่ที่ลึกและอากาศเหลือน้อย จะส่งผลให้ IP ที่ unbalanced first จ่ายออกมาให้ลดลงไปอีก ทำให้การหายใจนั้นต้องใช้แรงมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัฯ

ตัวอย่างการจับคู่ Unbalanced/Unbalanced

  • Scubapro MK2 Evo / R190

  • Mares R2 / Rover

  • Aqualung Calypso

Unbalanced first / Balanced second

เป็นการจับคู่ที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในการจับคู่แบบ Unbalanced first และ Balanced second เพราะว่า Balanced second ที่จะได้เปรียบในเรื่องการใช้ประโยชน์จาก IP ในการช่วยเปิด/ปิด poppet seat กลายเป็นว่าเมื่ออยู่ในที่ลึก อาจจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพนักเนื่องจาก IP ลดลงในที่ลึก หรือ IP ลดลงเมื่ออากาศในถังเหลือน้อย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของ Unbalanced first ส่

ผลทำให้การจ่ายอากาศของ Balanced second นั้นต้องใช้แรงมากขึ้น แต่ก็ยังใช้แรงน้อยกว่า Unbalanced second อยู่อย่างมีนัยยะ อาจจะพบเห็นการจับคู่แบบนี้ในกลุ่ม Deco Regulator ที่ต้องการต้นทุนที่ต่ำ ไว้ใจได้เรื่องความทนทานและโอกาสเสียหายต่ำจาก unbalanced first stage แต่ยังอยากได้ความง่ายในการหายใจและความสบายที่ต้องหายใจในที่ตื้นๆเป็นระยะเวลานาน ซึ่งหาได้จาก Balanced second stage อีกด้วย

ตัวอย่างการจับคู่ Unbalanced/Balanced

  • Dive Rite O2 Deco Regulator

Balanced first / Unbalanced first

เป็นการจับคู่ที่พอเห็นกันอยู่ในชุดเร็กกูเลเตอร์ระดับกลางๆ และเริ่มเป็นการจัดชุดที่ดูแล้วได้ประโยขน์ต่อนักดำน้ำค่อนข้างดี และยังมีค่าตัวในระดับที่น่าคบหาอยู่ เนื่องจาก Balanced first นั้นจะคุม IP ให้ได้เท่ากันตลอดการดำน้ำ โดยไม่สนความลึกและปริมาณอากาศที่คงเหลือในถัง ทำให้ IP นั้นคงที่ ไม่ลดลงตอนอากาศในถังลดลง ส่งผลให้ Unbalanced Second นั้นสามารถใช้แรงหายใจได้คงที่เท่ากันตลอดการดำน้ำในไดฟ์นั้นๆ กล่าวคือ นักดำน้ำจะไม่รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของแรงหายใจตลอดการดำน้ำ

ตัวอย่างการจับคู่ Balanced/Unbalanced

  • Mares Abyss 22 Navy

  • Aqualung Titan

  • Mares 15x Dual

  • Scubapro MK25/R295

Balanced first / Balanced second

เป็นการจับคู่ที่ดีที่สุด และก็มีราคาที่แพงขึ้นสำหรับนักดำน้ำ เป็นการจัดชุดให้การหายใจในแต่ละครั้งใช้แรงน้อยที่สุด และให้ความสบายในการหายใจสูงสุดจากชุด Balanced First ที่คุม IP ได้คงที่ตลอดไดฟ์ แต่การเปิด/ปิดวาล์วที่ใช้แรงน้อยของ Balanced Second ก็ทำให้การหายใจสบาย และรู้สึกจ่ายอากาศได้ดีแม้อากาศในถังแทบจะไม่เหลือแล้วก็ตาม

ตัวอย่างการจับคู่ Balanced/Balanced

  • Apeks ทุกรุ่น

  • Scubapro MK25,MK11,MK17 / S620Ti,S600,C370,S270

  • Aqualung Helix

  • Aqualung Legend

  • Mares 28XR-HR

  • TECLINE R2 TEC2


Unbalanced First

Balanced First

Unbalanced Second

จ่ายอากาศดี ตอนอยู่ในที่ตื้น หรืออากาศในถังเหลือมาก แต่จะทำงานได้แย่ลง เมื่ออยู่ในที่ลึก หรืออากาศใกล้หมด แต่ถึก ทน ถูก ไว้ใจ้ได้

จ่ายอากาศเท่ากันตลอดการดำน้ำ ค่าตัวปานกลาง การดูแลไม่แพงมากนัก

Balanced Second

จ่ายอากาศดี ตอนอยู่ในที่ตื้น หรืออากาศในถังเหลือมาก แต่ balanced second จะเข้ามาช่วยให้หายใจได้ดีขึ้นเมื่ออากาศในถังเหลือน้อยด้วย ค่าตัวไม่แพง แต่การทำงานของ Balanced second จะทำงานได้ไม่เต็มที่เพราะ IP ลดลงระหว่างการดำน้ำ

จ่ายอากาศเท่ากันตลอดการดำน้ำ Balanced second บางรุ่นอาจจะได้เปรียบเรื่องการปรับแรงที่ใช้หายใจใต้น้ำผ่านลูกบิดปรับได้


Comments


bottom of page