#DivingInsurance #DiveAssure #ประกันดำน้ำลึก #ประกันSCUBA
ในการดำน้ำนั้นเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง และสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แม้อุบัติเหตุนั้นไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็อาจจะเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการลงน้ำในไดฟ์แรก หรือมืออาชีพที่มีประสบการณ์เป็นพันชั่วโมง
อย่างไรก็ดีเรามีคุณครูที่มีประสบการณ์ด้านประกันชีวิต และประกันวินาศภัยโดยตรง ก็อยากมาแบ่งปันว่า ควรมีการเตรียมการอย่างไร และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นคุ้มครองนักดำน้ำอย่างไรบ้าง?
การประกันภัยดำน้ำจากผู้ประกอบกิจการดำน้ำลึก
การประกันภัยโรคน้ำหนีบจากประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การรับประกันภัยจากบริษัทหรือสมาคมรับประกันภัยดำน้ำเช่น DiveAssure หรือ DAN
หลักการรับประกันภัยดำน้ำ
สำหรับประสบการณ์ของเรา เราพบว่าประกันภัยที่ใช้ผ่านร้าน/เรือนำเที่ยวดำน้ำนั้น มีการติดต่อที่ยุ่งยากกว่า เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ดูแลจัดการกรมธรรม์ และเป็นผู้เอาประกันภัยในแผน ทำให้การติดต่อรับสินไหมคืนเงินของผู้ป่วยนั้นต้องใช้การติดต่อหลายทอดและใช้ระยะเวลานาน และการที่นักดำน้ำมี diveassure อยู่แล้วนั้นสามารถสอบถามราคาทริปดำน้ำแบบไม่รวมประกันได้ด้วย (สำหรับบางร้านและเรือบางลำ โดยอาจจะต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมเพิ่มเติมอีกด้วย) หรือสามารถใช้ประกันภัยดำน้ำลึกจากทั้งบริษัทรับประกันภัยในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยจากต่างประเทศอย่าง Diveassure ก็ได้ด้วย โดย DiveAssure จะกำหนดให้ตนเองเป็นกรมธรรม์ลำดับที่สอง คือถ้าหากว่าผู้เอาประกันภัยนั้นมีประกันภัยดำน้ำลึกอีกบริษัทหนึ่ง ให้ยื่นสินไหมบริษัทแรกไปก่อน แล้วถ้าหากมีการปฏิเสธการชำระสินไหม หรือมีส่วนต่างที่ต้องชำระจากการเคลมประกันเพิ่มเติม Diveassure ก็จะรับช่วงดูแลค่าใช้จ่ายต่อให้อีกด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับนักดำน้ำที่ไม่ได้ดำน้ำบ่อยๆ ก็ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อโปรแกรม diveassure ติดตัวไว้ตลอดเวลา อาจจะหาซื้อรายทริป หรือถ้าดำน้ำภายในประเทศไทย ก็ใช้ประกันดำน้ำจากทางผู้ประกอบการดำน้ำก็ได้ เพียงแต่นักดำน้ำต้องสอบถามจนมั่นใจว่าผู้ประกอบการมีประกันภัยดำน้ำลึกให้และส่งชื่อให้เรียบร้อย
เราอยากจะให้นักดำน้ำทุกคนมีประกันกับ Diveassure ตลอดช่วงเวลาที่คุณดำน้ำ เพราะถึงแม้กฎหมายในประเทศไทยนั้นบังคับให้เรือท่องเที่ยวดำน้ำนั้นมีประกันดำน้ำลึกให้กับนักดำน้ำทุกคนที่ใช้บริการ หรือร้านดำน้ำต้องมีประกันดำน้ำให้แล้วหล่ะก็ เมื่อถึงเวลามีปัญหา แล้วพบว่าประกันไม่คุ้มครอง ก็จะไม่มี safety net ที่จะมารองรับค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น หรือแม้จะมีการดำเนินการทางกฎหมายกันระหว่างเรือหรือร้านดำน้ำ และนักดำน้ำแล้วนั้น ก็มิได้อยู่ในการพิจารณาของบริษัทรับประกันภัยที่ไม่รับคุ้มครองหรือชำระสินไหมทดแทนให้ แต่เราเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและอยากให้มันเป็นความสมัครใจของนักดำน้ำเอง
แต่ถ้าจะให้เราแนะนำว่าอย่างน้อยเมื่อไหร่ควรซื้อ Diveassure หล่ะก็ ก็จะเป็นนักดำน้ำที่ดำน้ำออกนอกประเทศตั้งแต่ 2 ทริป/ปี ขึ้นไป เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับประกันดำน้ำต่างประเทศ 2 ทริปนั้น สามารถซื้อ DiveAssure ได้ทั้งปีแล้ว ซึ่งนั่นทำให้นักดำน้ำได้รับผลประโยชน์การคุ้มครองจากการดำน้ำในประเทศไปด้วยโดยปริยาย นักดำน้ำที่มีเป็นสมาชิก diveassure อยู่แล้วนั้นก็ไม่ต้องกังวลว่าต้องต่ออายุสมาชิกเรื่อยๆ เพราะสมาชิกภาพไม่มีการหมดอายุ เพียงแค่เราต้องการให้มีการคุ้มครองประกันภัยจากการดำน้ำลึกเมื่อไหร่ เราก็ไปเพิ่มแพ็คเกจในช่วงเวลานั้นๆได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการสิ้นสภาพสมาชิกใดๆ
เนื่องจาก Blue Culture Diving เป็น referral partner ของ Dive Assure จึงสามารถให้คำปรึกษาเรื่องประกันภัยดำน้ำได้ของ diveassure อย่างชัดเจน รวมไปถึงช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ต้องมีการเคลมประกันและเบิกสินไหมสำหรับนักดำน้ำที่ได้เข้าร่วม DiveAssure ผ่าน referral program ของเรา เพื่อให้นักดำน้ำได้อุ่นใจจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยสามารถเช็คราคาและความคุ้มครองได้ที่เวป DiveAssure หรือกดที่ลิ้งค์นี้เพื่อนำท่านไปยังระบบเสนอราคาของ Dive Assure
Comments