top of page

ทำไมเร็กกูเลเตอร์น้ำเข้าแล้วต้องรีบนำมา Service?

ทำไมเร็กกูเลเตอร์น้ำเข้าแล้วต้องรีบนำมา Service?

Equipment

เร็กกูเลเตอร์น้ำเข้า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากหากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ first stage regulator ที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ จากหลายเหตุการณ์ เช่น


  • อากาศหมดใต้น้ำ

  • ไม่ได้ปิด dust cap ไว้ระหว่างการเติมอากาศระหว่างการดำน้ำ แล้วเจอสภาพอากาศ, น้ำ, หรือความชื้น เข้าไปสะสมด้านใน Regulator

  • การล้าง regulator แบบจุ่มน้ำ โดยไม่ได้ปิด dust cap เอาไว้


เมื่อน้ำเข้า regulator แล้ว คำแนะนำที่ดีที่สุด คือ การนำ regulator นั้นๆ ไปตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญงาน ถึงแม้ผมจะเคยได้ยินว่าให้เอาเร็กไปอยู่กับวัสดุดูดความชื้น เช่น ข้าวสาร/ซิลิกาเจล เพื่อให้มันดูดความชื้นออกจากเร็กกูเลเตอร์ได้เช่นกัน ผมก็จะไม่แนะนำ เพราะถ้าน้ำที่เข้าไปเป็นน้ำทะเล หรือน้ำที่มีสารเคมีต่างๆ สารเคมี ก็จะยังตกค้างอยู่ภายใน regulator ได้อยู่ดี


จากประสบการณ์พบว่า การทิ้งให้น้ำขังอยู่ใน regulator เป็นเวลานานๆ ไม่เป็นผลดีต่อ regulator เท่าไหร่นัก วัสดุจาก regulator จะทำมาจากทองเหลือง (Brass) ซึ่งโดยปกติจะมีสีที่หม่นลงจาการออกซิเดชั่นกับอากาศหรือความชื้น จนทำให้เกิดคราบสนิมทองเหลืองที่เป็นลักษณะสีเขียวอมฟ้าถ้าอยู่ใน regulator หล่ะก็ เตรียมเซ็งกันได้เลย


คราบเกลือ หรือสนิมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้ส่วนที่ประกอบเร็กกูเลเตอร์เข้าด้วยกัน เช่น เกลียว สลักต่างๆ ถอดยากขึ้นมากๆ หลายๆครั้งการเปิดที่ต้องใช้กำลังมากๆ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อเรกูเลเตอร์ หรืออุปกรณ์ช่างได้



คราบที่ติดอยู่ที่ทองเหลือง ถ้าหากเกิดเป็นคราบเขียวขึ้นมาแล้ว protection coat ที่อยู่ภายใน ก็จะถูกกัดกร่อนด้วย ทำให้เนื้อทองเหลืองด้านๆถูกเปิดออกมาได้ ในกรณีที่ไม่รุนแรง จะไม่มีปัญหาต่อการใช้งาน กรณีที่เกิดการกัดกร่อนที่ผิว (pitting) ถ้าเกิดในส่วนที่ควบคุมแรงดัน มักจะทำให้มีปัญหาเร็กกูเลเตอร์คุมแรงดันไม่ได้ตามค่ามาตรฐานโรงงาน (ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่ง Piston stem หรือ Valve seat) เป็นต้นเหตุของ regulator free flow ได้ เพราะแรงดันชั้นกลางไม่ได้ค่าตามที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ second stage regulator อั้นลมไม่ได้


การกัดกร่อนนั้นมีกระบวนการที่ยาวนาน ถ้าหากว่านำเร็กกูเลเตอร์เข้ามาตรวจกับช่างซ่อมตาม service interval หรือ ทุก 1 ปี นั้นจะทำให้การตรวจพบจุดที่เสียหายจากการกัดกร่อนได้เร็วและแก้ไขได้โดยง่าย ซึ่งระยะเวลาที่เราสามารถพบนั้น จะสร้างความเสียหายมากน้อยแตกต่างกันออกไป เช่น หากมีน้ำเข้าเร็กกูเลเตอร์ และไม่ได้นำไปล้างออกเป็นเวลา 8-10 เดือน การกัดกร่อนอาจจะยังเล็กน้อย และการซ่อมแซมให้โดยไม่ให้เห็นร่องรอยกัดกร่อนยังเป็นไปได้


เมื่อเข้าเดือน 10-12 จะเริ่มเห็นร่องรอยการกัดกร่อนบนผิวเร็กกูเลเตอร์ได้อย่างชัดเจน แต่สามารถซ่อมแซมได้โดยจะเป็นแค่ cosmetic damage เท่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานจะยังคงทำได้เหมือนเดิม หากยังล่าช้ากว่านั้น การกัดกร่อนอาจจะทำความเสียหายจนต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นเพื่อความปลอดภัยเลยก็เป็นได้ ซึ่งเป็นการกัดกร่อนที่เรียกว่า dezincification ที่อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.blueculturediving.com/post/dezincification-in-regulator


ความเสียหายหลายอย่าง สามารถตรวจสอบได้โดยง่ายๆ สองสามวิธี เช่น

- เปิดเช็ค port plug ทั้ง low pressure และ high pressure ออกมาดู ถ้ามีเกลือขาวๆ เขียวๆหล่ะก็ น้ำเข้าแน่นอน

- ตรวจสอบ Filter ที่ DIN หรือ Yoke ถ้าเขียวๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าโดนน้ำ แต่ไม่ได้แปลว่าน้ำเข้าไปด้านในเสมอไป แต่ส่วนใหญ่ถ้าเห็นว่าสนิมเขียวเยอะๆ ก็ควรส่งให้ช่างตรวจสอบ



วิธีป้องกันที่ดีสำหรับการรักษา regulator ไม่ให้น้ำเข้าได้ง่าย ทำได้ง่ายโดย


  1. รับผิดชอบต่ออุปกรณ์ตนเอง หลังจากขึ้นจากน้ำ ถอด first stage และปิด dust cap ของ regulator ด้วยตนเอง (อย่าลืมเป่าลม หรือเช็ด dust cap ให้แห้งด้วย)

  2. ไม่ดำน้ำจนอากาศหมด หรือแกล้งปิดถังเพื่อนใต้น้ำ เพราะ regulator หรือ ถังที่อากาศหมดก็จะมีโอกาสน้ำเข้าได้

  3. ก่อนล้างอุปกรณ์ ตรวจสอบ dust cap ให้เรียบร้อย และหลีกเลี่ยงการแช่/จุ่ม regulator ทั้งตัวลงในถัง

  4. ไม่กดปุ่ม purge button ที่ second stage ขณะแช่น้ำล้าง เพราะอาจจะทำให้น้ำย้อนเข้าระบบได้

  5. ถ้าน้ำเข้า รีบส่งอุปกรณ์ให้ช่างเปิดทำความสะอาด ลดความเสียหายได้


ปรึกษาเรื่องอุปกรณ์ ซ่อมบำรุงต่างๆ ติดต่อ Blue Culture Diving เข้ามาได้เลย ยินดีให้คำปรึกษาจ้า

bottom of page