top of page
ค้นหา

ผิวเร็กกูเลเตอร์กัดกร่อนจนเห็นเนื้อโลหะสีชมพู เกิดมาจากอะไร?

อัปเดตเมื่อ 21 มี.ค.

วัสดุหลักของ regulator นั้นผลิตมาจากวัสดุที่ทนการกัดกร่อนจากน้ำทะเลหลายซึ่งมีหลายชนิด เช่น อลูมิเนียม, สแตนเลสสตีล, ไทเทเนียม, เซอร์โคเนียม, โมเนล, และวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะผสม (alloy) ระหว่าง ทองแดง (brass) และ สังกะสี (zinc) ซึ่งมีความสามารถในการทนการกัดกร่อนได้ดี มีความทนทาน และราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ ผู้ผลิตทุกเจ้าจึงเลือกใช้ทองเหลืองเป็นวัสดุหลักในการผลิต regulator จำหน่ายไปทั่วโลก โดยหลักจากขึ้นทรงโลหะแล้วก็จะชุบโลหะประเภทนิกเกิ้ลหรือโครเมี่ยมอีกชั้นเพื่อความเงางาม

ซึ่ง regulator นั้นจำเป็นจะต้องถูกนำไปซ่อมบำรุงโดยการถอด ล้าง เปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ และตรวจสอบสภาพของตัวเรือน first stage ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการที่มีน้ำเข้าไปขังอยู่ใน first stage นั้นสร้างความเสียหายได้มากกว่าที่เราคิด ซึ่งเมื่อน้ำเข้า ต้องรีบส่งให้ช่างเทคนิคส่งประกอบให้เร็วที่สุด โดยเนื้อหานั้นสามารถหาอ่านได้ที่ https://www.blueculturediving.com/post/what-happened-to-flooded-regulator ได้เลย

อย่างไรก็ดี การล้างทองเหลืองที่ถูกน้ำทะเลกัดกร่อนมานั้นต้องมีความระมัดระวัง เนื่องจากผิวโลหะที่ถูกชุบไว้ ถูกกัดกร่อนจนเปิดถึงเนื้อทองเหลืองด้านในออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เร็กกูเลเตอร์นั้นถูกกัดกร่อนมา ซึ่งมีวิธีการนำสนิมติดโลหะออกมาหลายวิธี และหลังจากนำสนิมออกมาแล้ว จะเห็นทองเหลืองเป็นสีเหลืองหม่น ถ้าการกัดกร่อนมีความรุนแรงมากขึ้นก็เป็นสีเหลืองหม่นปนทองแดง ซึ่งจะยังใช้งานได้อยู่ แต่ถ้าหากพบว่าเป็นสีทองแดง หรือสีชมพูนั้น ถือว่าการกัดกร่อนอยู่ในขั้นรุนแรง เนื่องจากเป็นการกัดกร่อนจากกระบวนการ Dezincification หรือการสูญเสียเนื้อสังกะสีในทองเหลืองนั่นเอง

การสูญเสียเนื้อสังกะสีในทองเหลืองนั้นเป็น ตามหลักการโลหะวิทยาเรียกว่า การสูญเสียส่วนผสมบางตัว (Selective leaching) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการกัดกร่อนซึ่งเกิดโดยการละลายของธาตุบางตัวจากโลหะอัลลอยด์ เหลือไว้แต่โครงสร้างพรุนซึ่งเต็มไปด้วยโลหะที่เสถียรที่สุด วัสดุที่เหลือจึงสูญเสียความแข็งแรงทางกายภาพไปมาก

การสูญเสียสังกะสีในทองเหลืองไปทำให้โลหะที่เหลืออยู่เป็นทองแดงเป็นส่วนมากและมีความพรุน (perforation) ความแข็งแรงต่ำลงเพราะมีช่องว่าง (void) ในโลหะเสียแล้ว การสูญเสียสังกะสีอาจสังเกตได้จากที่เดิมที่เคยมีสีเหลือง เมื่อสูญเสียสังกะสีไป จะทำให้มีสีแดงขึ้น ยิ่งทองเหลืองมีส่วนผสมของสังกะสีมาก กระบวนการ dezincification นั้นก็จะยิ่งมากตาม


แล้วมันสำคัญกับอุปกรณ์ดำน้ำอย่างไร? เพราะว่าการกัดกร่อนนี้นั้นสามารถทำให้เกิดได้ทั้งการกัดกร่อนจากน้ำทะเล และการล้างด้วยน้ำยากัดสนิมที่มีฤิทธิ์เป็นกรดหรือด่างก็ได้ เช่น hydrochloric acid, กรดอ่อนๆอย่างน้ำส้มสายชู, หรือแอมโมเนียก็ได้ และการกัดกร่อนนี้ถึงแม้ดูเป็นเหมือนเป็นแค่ cosmetic damage แต่ถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบเห็นช่องว่างในเนื้อโลหะอย่างชัดเจน

ในรูปภาพจากกล้องจุลทรรศ์นี้ (source:technorm) จะเห็นได้ว่าเนื้อทองเหลืองทางด้านซ้ายมีทั้งสังกะสี และทองแดงรวมกันอยู่ และแทบไม่มีช่องว่างในเนื้อโลหะเลย แต่ในส่วนที่เป็นสีชมพู ซึ่งเป็นเนื้อทองเหลืองที่สูญเสีญสังกะสีไปแล้วนั้น มีรูพรุนอยู่มากมาย ซึ่งการเกิดรูพรุนนี้ ในกรณีที่รุนแรงก็จะมีอาการรั่วซึมของอากาศ หรือการแตกร้าวได้ง่ายกว่าเดิมเมื่อโดนกระทำเข้าที่บริเวณรูพรุน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุการใช้งาน หรือการฝืนออกแรงเพื่อถอด หรือประกบ regulator ที่รุนแรงเกินไป อาจจะทำให้เกลียวหรือผนังส่วนที่บางของเรือน first stage นั้นเสียหายได้

ยิ่งไปกว่านั้น dezincification ถ้ามองด้วยกล้อง scanning electron microscope (SEM) ตามรูป (source: technorm) จะเริ่มเห็นการแยกกันของโลหะและรอยร้าว ซึ่งจะทำให้เนื้อโลหะนั้นมีความเปราะบางมากขึ้น ถึงแม้จะเล็กมาก แต่ก็จะเริ่มการสะสมรอยแตกร้าวในระยะยาวได้

อย่างไรก็ดีการที่ได้เห็น regulator นั้นถูกล้างออกอย่างหมดจดจนเห็นแต่เนื้อทองแดงสีชมพูสดใส ดูเหมือนจะล้างคราบเกลือ หรือร่องรอยของออกซิเดชั่นออกจาก regulator ได้หมดถ้วน แต่จริงๆแล้วเนื้อสังกะสีหลายส่วนอาจถูกชะล้างออกไปมากเกินความจำเป็นก็เป็นได้ ดังนั้นสาเหตุอาจจะเกิดจากจุดใดก็ได้ตั้งแต่นำเข้า regulator เป็นระยะเวลาหนึ่ง (8-10 เดือนขึ้นไป) จนเกิดการออกซิเดชั่นที่ผิวเคลือบ และกัดกร่อนเข้าเนื้อทองเหลือ หรือการใช้สารเคมีที่รุนแรงเกินไปในการทำละลายและล้างคราบเกลือออกก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการลอกออกของชั้นผิวชุบและ dezincification ได้ ทางที่ดีที่สุดคือดูแลอุปกรณ์ตัวเองให้ดีและหมั่นนำเข้าตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ไม่นำอุปกรณ์ไปถอดประกอบล้างบ่อยๆโดยไม่จำเป็น (เช่น ถอดประกอบเฉพาะตอนรู้ว่าน้ำเข้าไปใน regulator หรือถึงรอบการซ่อมบำรุงรักษา) น่าจะเป็นการดูแลรักษาที่ดีที่สุด


Reference:


ดู 16 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page