ไดฟ์คอมพิวเตอร์ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับการดำน้ำเลย เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เราต้องพึ่งพาตลอดการดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คความลึก เช็คเวลา NDL ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงโรค Decompression Sickness
การที่ไดฟ์คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และต้องใช้แบตเตอรี่ในการใช้งาน ในปัจจุบันมีไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้แหล่งพลังงานหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ที่สามารเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง (user replacable battery) หรือแบตเตอรี่แบบ Lithium ที่เป็นแบบแบตกระดุม (button cell battery) หรือว่าแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ (rechargable battery) ซึ่งสำหรับเรา ระบบไหนก็ให้ความมั่นใจได้เท่าเทียมกัน โดยแต่ละแบบมีข้อได้เปรียบแตกต่างกัน
User Replacable Battery - จะมีประโยชน์กรณีที่ดำน้ำในที่ห่างไกล เพราะว่าเมื่อแบตเตอรี่หมด สามารถหาเปลี่ยนได้เองตามร้านสะดวกซื้อได้เลย มั่นใจได้ว่าสามารถดำน้ำที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างการดำน้ำ มักจะพบในไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นเริ่มต้น หรือไดฟ์คอมพิวเตอร์ระดับเทคนิคัลบางรุ่น
Rechargable Battery - ลดภาระการใช้แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้ง เพราะสามารถชาร์จประจุไฟใหม่ได้ โดยไม่ต้องเป็นกังวลว่าต้องหาซื้อแบตเตอรี่ใหม่หรือไม่ และไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ถ่านชาร์จจะมีฟังก์ชั่นได้หลายหลาย หรือเป็นหน้าจอสีสันสว่างสวยงามเพราะไม่ต้องห่วงเรื่องพลังงานมากนัก เพราะสามารถชาร์จเมื่อไหร่ก็ได้ มักพบในไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่เป็นไดฟ์คอมพิวเตอร์ทั้งระดับเทคนิคัล และระดับนันทนาการ และส่วนมากจะเป็นแบบนาฬิกา smart watch
Button Cell Battery - เป็นการเปลี่ยนแบตเตอรี่เหมือนถ่านนาฬิกา ไม่จำเป็นต้องชาร์จประจุไฟใหม่ และต้องใช้ผู้ชำนาญการในการเปลี่ยนแบตเตอรี่เท่านั้น และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน (ประมาณ 2 ปี) ก่อนที่จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่อีกครั้ง มักจะพบใน watch type dive computer หลายๆยี่ห้อ ที่ใช้หน้าจอแบบ dot matrix ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสูงนัก แต่ระบบนี้จะให้ความทนทานในระยะยาวมากที่สุด
ในการเปลี่ยนถ่านแบบ User Replaceable Battery นั้นจะค่อนข้างง่าย และไม่ซับซ้อน ส่วน Rechargable Battery จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และกว่าถ่านชาร์จจะเสื่อมและต้องเปลี่ยนถ่านชาร์จนั้นจะต้องใช้งานมากกว่า 1,000 charge cycle และต้องส่งให้ศูนย์บริการเป็นผู้ทำการซ่อมบำรุงเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ดีก็ยังมี Button Cell Battery ที่ต้องเปลี่ยนทุก 1.5-2 ปีนั้น ก็ควรจะต้องส่งไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการเท่านั้นเช่นกัน เราจะมาแบ่งปันประสบการณ์ของลูกค้าท่านหนึ่งที่ส่งไดฟ์คอมพิวเตอร์ไปให้ร้านดำน้ำที่ไมใช่ศูนย์บริการ ที่อนุญาตให้เราแบ่งปันข้อมูลนี้ โดยจะขอปิดบังร้านค้าที่รับบริการ และผู้ขอรับบริการทั้งสองฝ่าย เพื่อคงความนิรนาม ไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเกิดความเสียหายจากบทความนี้ และบทความนี้มีเจตนาที่จะแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดได้หากไม่ได้ให้เราส่งศูนย์บริการให้แล้วอาจจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
เครื่อง SUUNTO D6i ที่ใช้ส่งไปยังร้านดำน้ำร้านดังที่รับบริการเปลี่ยนถ่านดำน้ำให้กับ Dive Computer หลายยี่ห้อ ไปยังร้านนี้ว่า Slouch Sea Diving (นามสมมติ) ซึ่งก่อนไปนั้นทางเจ้าของได้ตรวจสอบสภาพก่อนส่งแล้ว ซึ่งหลังจากเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว (ผ่านการทดสอบแรงดันแล้ว) กลับมาพบว่าหน้าจอเกิดความเสียหา
โดยจากรูปนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนหน้าจอนั้นได้เสื่อมสภาพลง หนึ่งในสาเหตุคือการเก็บอุปกรณ์ไว้ในที่ร้อนหรือถูกแสงแดดตลอดเวลา ซึ่งระยะเวลาในการเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นใช้เวลาไม่นาน แต่พอดีสายรัดข้อมือมีความเสียหายด้วย จึงต้องฝากคอมพิวเตอร์ไว้กับร้านเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีอายุประมาณ 10 ปี เจ้าของคอมพิวเตอร์นี้นั้น รับความเสียหายนี้ได้ อีกทั้งความเสื่อมนี้สามารถซ่อมแซมได้ที่ศูนย์บริการในราคาหลักร้อยบาทเท่านั้น จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ส่งศูนย์บริการเพื่อทำการเปลี่ยนหน้าจอ
ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์ถึงศูนย์บริการ ได้เปิดเครื่องเพื่มสำรวจความเสียหาย พบว่าต้องมีการเปลี่ยนบอร์ดใหม่ทั้งชุด โดยมีราคาหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว และได้ส่งการวิเคราะห์ความเสียหายต่างๆมาให้ทางเจ้าของได้พิจารณา ดังนี้
ถ่านไม่ตรงรุ่น เนื่องจากถ่านจากศูนย์บริการนั้นจะใช้ยี่ห้อ Renata รหัส CR2450N และร้านเปลี่ยนให้เป็น Panasonic และเป็นรหัส CR2450 ซึ่งเสปคแตกต่างกันชัดเจนตั้งแต่รหัสแล้ว โดยมิติของถ่านนั้นเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยซึ่งจะพอใส่ได้ แต่ไม่พอดีกัน ทำให้ความหนาโดยรวมของชุดประกอบนั้นหน้าขึ้นเกินความจำเป็น โดยช่างจากศูนย์บริการได้ส่งรูปเปรียบเทียบมาให้ดูอีกด้วย
โอริงขนาดไม่ตรงสเปค ซึ่งทางร้านได้ยืนยันกับเจ้าของว่า ไม่ว่าโอริงจะขนาดใดๆ ถ้าหากมีการเทสแรงดันแล้วผ่าน สำหรับร้าน ถือว่าผ่านแล้ว ในมุมมองของเจ้าของ คือไม่สามารถยอมรับกับเหตุผลนี้ได้ ถึงแม้การเทสแรงดันผ่าน แต่การใส่ของผิดขนาดให้กับไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัย โดยไม่แจ้งลูกค้าก่อนดำเนินงาน ถือเป็นการผลักภาระความเสี่ยงจากอุปกรณ์เสียหายระหว่างดำน้ำให้กับผู้รับบริการ โดยเจ้าของถ้าไม่ให้ศูนย์บริการเปิดอุปกรณ์ซ้ำอีกครั้ง จะไม่มีทางทราบเรื่องได้เลย
ตัวล็อคสายแพ depth sensor หายไป โดยทางศูนย์บริการแจ้งว่า ตัวล็อคสายแพ depth sensor นั้นหักหรือหายไป โดยจุดที่เสียหายนั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจาก Battery Bay ของตัวเรือนนั่นเอง ซึ่งเจ้าของยืนยันว่าที่ผ่านมานั้นนำ Dive Computer เข้าศูนย์บริการตลอด มีเพียงครั้งนี้ ที่นำออกนอกศูนย์บริการ เนื่องจากการเชื่อใจกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ Battery เก่าที่เปลี่ยนส่งกลับมาก็เป็น Renata CR2450N ที่เป็นสเป็คที่ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งการเสียหายจุดนี้ เป็นจุดที่ศูนย์บริการไม่รับเปลี่ยนหน้าจอ และจะต้องเป็น internal module ทั้งชิ้นเป็นราคาหลักหมื่นบาท ซึ่งเจ้าของก็มีความผูกพันธ์กับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้และได้ทำการซ่อมเปลี่ยน module ทั้งหมด จากรูปจะเห็นได้ว่าใช้มาแล้ว 933 ไดฟ์เลยทีเดียว
อย่างไรก็ดี เจ้าของได้นำเรื่องนี้ไปสอบถามกับร้าน Slouch Sea Diving ที่ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ กลับได้รับคำตอบว่า ทั้งหมดผ่านการทดสอบแรงดันแล้ว และร้านเองก็ยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆต่ออุปกรณ์ที่เสียหายนั้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของหน้าจอและโมดูลเครื่อง ณ ปัจจุบันตอบได้แต่ว่าไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน เมื่อเจ้าของคอมพิวเตอร์ปรึกษาเราแล้ว เราจึงตอบได้แต่ว่า ขออนุญาตนำเรื่องราวนี้มาแบ่งปันให้เพื่อนนักดำน้ำได้ทราบว่า ต่อให้ร้านดูดีแค่ไหน รู้จักกันมานานเท่าใด หากเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ควรให้ศูนย์บริการดูแลจะดีที่สุด เพื่อป้องกันการหยิบใช้วัสดุทดแทนที่ไม่ได้มาตรฐาน (ขนาดไม่ตรงกัน ทั้งถ่านกระดุม และโอริง) รวมไปถึงการไม่สามารถบอกรับผิดชอบต่อความเสียหายของอุปกรณ์ได้อีกด้วย (ไม่มีการชดใช้ใดๆ ทั้งบางส่วน หรือทั้งหมดของค่าเสียหายดังกล่าว)
ทางเราเอง ก็รับซ่อมบำรุงอุปกรณ์ดำน้ำประเภทเร็กกูเลเตอร์แทบทุกยี่ห้อให้กับนักดำน้ำทั่วไป ซึ่งเราเองก็ต้องใช้ชุดอะไหล่ที่เป็นของแท้ และมีการบันทึกประวัติอุปกรณ์ทั้งหมด ก่อนเสนอซ่อมให้กับลูกค้าก่อนลงมือซ่อมแซมอีกด้วย ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทำให้นักดำน้ำควรพึงระวังในการดูแลอุปกรณ์ดำน้ำของท่าน จากแหล่งที่มาอีกด้วย และ Blue Culture Diving ขอรับไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกท่านไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับศูนย์บริการที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการต่อไป
Comments