top of page
ค้นหา

LST-712 เรือครูของนักเรียนนายเรือไทย

อัปเดตเมื่อ 6 ต.ค. 2566

เรือหลวงช้าง ที่มา ที่ไป เป็นอย่างไรกันนะ ทำไมถึงมาหลับไหลที่ทะเลเกาะช้างได้?

เรือหลวงช้าง ชื่อเดิมคือ USS LST-898 "Lincoln County" (ลินคอล์น เคาวน์ตี้) เป็นเรือลำเลียงพล ต่อโดยบริษัทต่อเรือ ดราโว คอร์เปอเรชั่น ที่เมืองพิตซ์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวลเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา วางกระดูกงูวันที่ 15 ตุลาคม 1944 และปล่อยเรือลงน้ำ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 1944 และเข้าประจำการในวันที่ 29 ธันวาคม 1944 เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่รุ่นที่สาม (LST Mk.3) ที่ขนกำลังพลได้มากมายแล้วแต่ความต้องการของภารกิจ ไม่ว่าจะเป็นรถถัง ยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ยานยกพลขึ้นบก ทหารราบ ฯลฯ

LST-898 ได้รับใช้กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, และทำงานอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงปลดระวางในวันที่ 24 มีนาคม 1961

LST-898 ได้รับใช้กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, และทำงานอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงปลดระวางในวันที่ 24 มีนาคม 1961

LST-898 Lincoln County จึงถูกเปลี่ยนชื่อและหมายเลขเรือเป็น Chang LST-2 หรือ เรือหลวงช้าง กองทัพเรือได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็น “ช้าง” หมายถึงเกาะช้าง จังหวัดตราด ตามธรรมเนียมการตั้งชื่อเรือรบไทย ที่จะให้ชื่อเรือลำเลียงเป็นชื่อเกาะต่างๆในประเทศ และภายหลังเปลี่ยนหมายเลขเรือเป็น 712 HTMS Chang (His Thai's Majesty Ship) ในเวลาต่อมา โดยเรือหลวงช้างลำนี้ เป็นลำที่สองที่ใช้ชื่อ "ช้าง" ทดแทนเรือลำเลียงลำเก่า ที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 1902-1962

หลังจากเข้ามาประจำการกับกองทัพเรือไทย ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 1962 เรือหลวงช้างได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย ทั้งภารกิจสำคัญและการช่วยเพิ่มศักยภาพด้านยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพเรือไทย เช่น ปฏิบัติภารกิจในสงครามเวียดนาม ปฏิบัติงานในแผนยุทธการบูโดบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย สนับสนุนปฏิบัติการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน บริเวณเขตความรับผิดชอบของกองทัพเรือ เป็นฐานปฏิบัติการลอยน้ำ และยังเป็นเรือฝึกของนักเรียนนายเรือและการฝึกหลักสูตรสำคัญๆ ในกองทัพเรือหลายหลักสูตร ดังนั้นทหารเรือเกือบทุกนายจึงมีความผูกพันกับเรือลำนี้มากเปรียบเสมือนโรงเรียน และบ้านหลังหนึ่ง

เรือหลวงช้างได้ปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2005 หลังจากเป็นกำลังสำคัญให้กับกองทัพเรือไทยอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรี ประกอบกับภารกิจอันล้ำค่าในหลายสมรภูมิร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำให้เรือหลวงช้างนับเป็นเรือที่แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศแห่งมิตรภาพ ความร่วมมือร่วมใจ ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี อันจะก่อให้เกิดพลังแนวคิดในการร่วมมือ ป้องกันประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของทุกคนได้เป็นอย่างดี

เรือหลวงช้าง ซึ่งหลังจากปลดประจำการจึงไม่สามารถเรียก“เรือหลวงช้าง” ได้จึงเรียกเพียง “เรือช้าง” เท่านั้น


สำหรับสาเหตุที่ต้องปลดระวางประจำการ เรือหลวงช้าง เนื่องจากเรือมีอายุการใช้งานมานานถึง 61 ปีซึ่งเกินกำหนดการปลดระวางประจำการตามที่กองทัพเรือได้กำหนดไว้ จากการตรวจสอบสภาพของเรือพบว่า ตัวเรือ เครื่องจักร ตลอดจนอุปกรณ์ประจำเรืออื่นๆอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก การที่จะซ่อมแซมทำให้มีสภาพสมบูรณ์กระทำได้ยากต้องใช้งบประมาณสูง และไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการ

ในวันที่ 22 พฤศจิายน 2012 ได้มีโครงการนำเรือคืนสู่บ้าน ตาม “โครงการเรือหลวงช้างรักษ์ทะเลตราด เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555” ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ของจังหวัดตราด ที่ได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด และสมาคมการประมงจังหวัดตราด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ในการนำเรือช้าง ที่ตั้งชื่อตามเกาะช้าง กลับคืนสู่บ้าน พร้อมทำการวางลงสู่ท้องทะเลตราด เพื่อประโยชน์ในการเป็นบ้านปลา และสัตว์น้ำนานาชนิด รวมถึงเป็นแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ นับเป็นภารกิจสำคัญด้านการอนุรักษ์ของเรือช้าง และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตลอดไป


จุดวางเรือหลวงช้าง คือ บริเวณกลางทะเลด้านหลังของเกาะคุ้มหรือแนวหินราบ-หินลูกบาศก์ นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดำน้ำลึก (scuba diving) สามารถชมตัวเรือได้ พร้อมทั้งฝูงปลามากมายรอบตัวเรือ เสากระโดงเรืออยูใต้ผิวน้ำเพียง 5 เมตร และลงไปถึงก้นทะเลที่ 35 เมตร

ตัวเรือหลวงช้างมีความยาว 328 ฟุต กว้าง 50 ฟุต (ประมาณ 100 x 15 เมตร) สมัยวัยรุ่นทำความเร็วความเร็วมัธยัสถ์ ที่ 9 น็อต มีพิสัยทำการ 24,000 ไมล์ ด้วยเครื่องยนต์ ดีเซลจาก GM EMD 12 สูบ รหัส 567A สองเครื่องกำลังรวม 1,700 แรงม้า โคตรเท่


ไปเกาะช้าง ต้องดำน้ำเรือหลวงช้างให้ได้สักครั้ง ความยิ่งใหญ่อลังการ ของเรือจมที่ใหญ่ที่สุดในไทยเป็นอย่างไร ต้องไปดูกัน


อย่างไรก็ดี การดำน้ำเข้าไปในเรือจม ควรจะต้องเรียนหลักสูตร Advanced Wreck Diving ขึ้นไป เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่เราอาจจะมองข้ามมันไป แต่อันตรายถึงชีวิต


อยากรู้จักแผนที่เรือหลวงช้าง กดลิ้งที่นี้ได้เลย Chang wreck dive brief.pdf - Google Drive



ดู 563 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page